สติบริสุทธิ์ - ลมหายใจอริยะ
- ibuddha
- Dec 6, 2015
- 2 min read
____________________________________________________________________________________________________
องค์ประกอบ การนิพพาน
สติบริสุทธิ์ เนื่องได้จาก ความสงบในจตุตถฌาน
ญานทัสสนะ องค์ประกอบ ในการแทงตลอด ภายใต้ความจริง ของ ทุกสิ่งไม่เที่ยง เป็นเพียง สภาวะแปรเปลี่ยนของ รู้สึก นึกคิด อารมภ์ และ ความทรงจำ จาการ กระตุ้นกระทบ หรือ กระทบจึงกระตุ้น
____________________________________________________________________________________________________

____________________________________________________________________________________________________ สมาธิสัมปยุตต์ด้วยลมหายใจ
ตลอดแกนลำตัว จาก หอคอย ถึง ตันเถียนล่าง การควบคุมเส้นทางหายใจ ให้โปร่งโล่ง ไม่มีการสดุดใดๆ หากมีการสดุด แม้เล็กน้อยแสดงว่า ยังมีการคิด
แต่หาก เราทำให้มวลนั้นสงบลง และ เสถียรกับความสงบ ... มวลนั้นก็จะไร้ตัวตน
วิธีการ คือ ทำให้ร่างกายสงบ นำไปสู่สมองสงบ ดับลง จึงจะถึง สติปริสุทธิ์ จึงประมาณได้ว่า ความไม่เสถียร สร้างตัวตน ยิ่งไม่เสถียรมากเท่าใด ความมีตัวมีตน จะยิ่งทวีเพิ่มมากขึ้น
อิสระของชีวิต คือ การมีความเสถียร ของความสงบ ความเสถียรจะมีขึ้นได้ เมื่ออิสระจากพันธนาการ ของตัวมันเอง สลายแรงตึงหน่วงในสมอง
____________________________________________________________________________________________________
ผู้ที่จะสามารถมุ่งตรงต่อนิพพานมี 3 กรณีเท่านั้น 1. เกิดอัศจรรย์ ขึ้นกับตัว จึงเกิด ศรัทธาเปี่ยมล้นสิ้นสงสัย 2. เห็นปฏิหารย์ ด้วยตนเอง จึงเกิด ศรัทธาเปี่ยมล้นสิ้นสงสัย 3. เห็นทุกข์ อย่างเต็มหน่วง จึงเกิดญานทัสสนะ ใช้ปัญญาหาทางออก
ผู้ที่ห่างไกลนิพพานมี 3 กรณี 1. ดื้อรั้น มุทะลุ ยึดทิฏฐิของตนเองเป็นที่ตั้ง 2. ถือดี ไม่มองความจริง ไม่ฟังใครทั้งสิ้น .............. 3. ยึดติด เกาะติด จมปรัก อยู่กับ อาสวะกิเลส ...................
____________________________________________________________________________________________________

ตำแหน่งสำคัญ ตรงปลายกระดูกสันหลัง ต้องรักษา สภาพไว้ให้ดี ด้วยการ นั่งหลังตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า เป็นหลัก นอนไสยาสซ้าย-ขวา สลับการนั่ง (อยู่กับลมหายใจ ณ ปัจจุบันขณะ)
____________________________________________________________________________________________________
เข้าใจไว้ก่อนว่า "รู้สึก นึกคิด อารมภ์ ความทรงจำ" นั้นเรียกแทนกลุ่มเหล่านี้ว่า จิต หรือ นิมิต(มโน) หรือ สภาพนิมิตแห่งวิญญาน(มโนวิญญาน) เป็นสมมุติเรียกแทนทั้งหมด มิได้เป็นตัวตนเป็นรูปเป็นร่างจริง
สภาพแห่งจิต 6 ลำดับสู่ความสงบ 1 กระเจิดกระเจิง ไม่ไปในแนวเดียวกัน ขาดระเบียบ 2 แสดงอาการต่างๆนานา เพราะเริ่มเป็นระเบียบ ทิศทางเริ่มจะทรงตัวได้ 3 อาการต่างๆนานา หยุดลง ดับลง มอดลง เพราะความเป็นระเบียบ ละเอียดขึ้น 4 เป็นระเบียบไปในทิศทางเดียวกันทั้งหมด จิตรวมเป็นอารมภ์เดียว ณ สภาพนี้ 5 เกิดความว่างเปล่า หยุดนิ่ง ทั้งหมด จนเหลือแต่ สติบริสุทธิ์
การผูกพัน พัวพัน กับ ตนเอง นั้นเป็นทุกข์ ตนเอง คือ รู้สึก นึกคิด อารมภ์ ความทรงจำ ที่ก่อตัวขึ้น และ แปรเปลี่ยนอยู่ตลอด จากสภาพแวดล้อมภายนอก และ สภาพแวดล้อมภายในร่างกาย ที่กระตุ้น กระทบ (สฬายตนะ - ผัสสะ ) การมองไปสู่ความเป็นจริง ของ กลไกธรรมชาติ คือ การแก้ไข และ การปลดปล่อย ความเป็นทุกข์ (การผูกพันกับตนเอง ตามนัยข้างต้น) นี่คือ สู่อิสระแห่งความจริง(สรรพสิ่ง) ปลดปล่อยตนเอง ออกจาก การรู้สึก ของตนเอง สู่อิสระแห่งความจริง(สรรพสิ่ง) ปลดปล่อยตนเอง ออกจาก การนึกคิด ของตนเอง สู่อิสระแห่งความจริง(สรรพสิ่ง) ปลดปล่อยตนเอง ออกจาก อารมภ์ ของตนเอง สู่อิสระแห่งความจริง(สรรพสิ่ง) ปลดปล่อยตนเอง ออกจาก ความทรงจำ ของตนเอง สู่อิสระแห่งความจริง(สรรพสิ่ง) พระพุทธเจ้า ให้แนวทางว่า อิสระทางจิตมี 3 ประการ คือ ด้วย ศึล สมาธิ และปัญญา อิสระทางจิต คือ วิมุตติ ศึล คือ ความบริสุทธิ์ทางใจ (ใจเป็นเอก) สมาธิ คือ ความสงบแห่งสติบริสุทธิ์ ปัญญา คือ ญานทัสสนะ (รู้สึกที่บริสุทธิ์สัมผัสด้วยใจที่บริสุทธิ์) ผลคือ เห็นทุกอย่างถูกต้องตรงตามความเป็นจริง ซึ่งเมื่อพร้อมบริบูรณ์ พรหมวิหาร4 อันบริสุทธิ์จะปรากฏขึ้น พร้อมพรั่งทั้งความรู้ทั้งปวง และ การสลัดทิ้ง ใจ และ ปัญญา ไปด้วยพร้อมๆ กัน ... เกิดขึ้นแวบเดียว แต่เกิดขึ้นหลายอย่าง และ ไม่แปรเปลี่ยนอีกต่อไป มองในมุมมองของเรา คือ อิสระทาง การรู้สึก การนึกคิด อารมภ์ ความทรงจำ ด้วย ความบริสุทธิ์ทางใจ ความสงบทางสติ ความสงบจากการรู้ที่ถูกต้องตรงตามความเป็นจริงแล้ว รู้สึก ด้วย ใจบริสุทธิ์ สติบริสุทธิ์ รู้ถูกต้องตรงความเป็นจริงสัมผัสได้ด้วยใจ นึกคิด ด้วย ใจบริสุทธิ์ สติบริสุทธิ์ รู้ถูกต้องตรงความเป็นจริงสัมผัสได้ด้วยใจ อารมภ์ ด้วย ใจบริสุทธิ์ สติบริสุทธิ์ รู้ถูกต้องตรงความเป็นจริงสัมผัสได้ด้วยใจ ทรงจำ ด้วย ใจบริสุทธิ์ สติบริสุทธิ์ รู้ถูกต้องตรงความเป็นจริงสัมผัสได้ด้วยใจ ด้วยสภาพนี้ รุ้สึก นึกคิด อารมภ์ ความทรงจำ จะสลายมลายสิ้น ความเมตตา อย่างยิ่งยวดจะปรากฏขึ้น พรั่งพร้อมด้วย พรหมวิหาร4 ที่หาที่สุดมิได้
____________________________________________________________________________________________________
EndFragment
Comments