top of page

ดูกรภิกษุทั้งหลาย โยคะ ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน คือ 
กามโยคะ ๑ 
ภวโยคะ ๑  
ทิฏฐิโยคะ ๑ 
อวิชชาโยคะ ๑ 

 ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กามโยคะเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้  ย่อมไม่รู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งกามทั้งหลาย  ตามความเป็นจริง 
เมื่อเขาไม่รู้ชัดซึ่ง ความเกิด ความดับ คุณ โทษ  และอุบายเครื่องสลัดออกแห่ง กามทั้งหลาย ตามความเป็นจริง 
ความกำหนัดเพราะกาม  
ความเพลิดเพลินเพราะกาม 
ความเยื่อใยเพราะกาม 
ความหมกมุ่นเพราะกาม  
ความกระหายเพราะกาม 
ความเร่าร้อนเพราะกาม 
ความหยั่งลงในกาม  
และความทะยานอยากเพราะกาม 
ในกามทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้น นี้เราเรียกว่ากามโยคะ  กามโยคะเป็นดังนี้ 

ก็ ภวโยคะเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมไม่รู้ชัดซึ่งความเกิด  ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งภพทั้งหลาย ตามความเป็นจริง 
เมื่อเขาไม่รู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งภพทั้งหลาย  ตามความเป็นจริง 
ความกำหนัดเพราะภพ 
ความเพลิดเพลินเพราะภพ 
ความเยื่อใยเพราะภพ  
ความหมกมุ่นเพราะภพ 
ความกระหายเพราะภพ 
ความเร่าร้อนเพราะภพ 
ความหยั่งลงในภพ  
และความทะยานอยากเพราะภพ 
ในภพทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้น นี้เราเรียกว่าภวโยคะ กามโยคะ  ภวโยคะเป็นดังนี้ 

ก็ทิฏฐิโยคะเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมไม่รู้ชัดซึ่งความเกิด  ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งทิฐิทั้งหลาย ตามความเป็นจริง 
เมื่อเขาไม่รู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งทิฐิทั้งหลาย  ตามความเป็นจริง 
ความกำหนัดเพราะทิฐิ 
ความเพลิดเพลินเพราะทิฐิ 
ความเยื่อใยเพราะทิฐิ  
ความหมกมุ่นเพราะทิฐิ 
ความกระหายเพราะทิฐิ 
ความเร่าร้อนเพราะทิฐิ  
ความหยั่งลงเพราะทิฐิ 
และความทะยานอยากเพราะทิฐิ 
ในทิฐิทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้น  นี้เราเรียกว่าทิฏฐิโยคะ กามโยคะ ภวโยคะ ทิฏฐิโยคะ เป็นดังนี้ 

ก็อวิชชาโยคะเป็นไฉน  บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมไม่รู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ  และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ ประการตามความเป็นจริง  
เมื่อเขาไม่รู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบาย  เครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ ประการตามความเป็นจริง 
ความไม่รู้ ความไม่หยั่งรู้  ในผัสสายตนะ ๖ ย่อมเกิดขึ้น นี้เราเรียกว่าอวิชชาโยคะ กามโยคะ ภวโยคะ ทิฏฐิโยคะ  และอวิชชาโยคะ เป็นดังนี้ 

บุคคลผู้ประกอบด้วยอกุศล ธรรมอันลามก  อันเป็นเครื่องเศร้าหมอง เป็นเหตุให้เกิดในภพใหม่ มีความกระวนกระวาย  มีทุกข์เป็นวิบาก มีชาติ ชราและมรณะต่อไปอีก 
ฉะนั้น เรา จึงเรียกว่า  ผู้ไม่เกษมจากโยคะ  ดูกรภิกษุทั้งหลาย โยคะ ๔ ประการเหล่านี้แล ฯ  

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความพรากจากโยคะ ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน คือ  ความพรากจากกามโยคะ ๑ 
ความพรากจากภวโยคะ ๑ 
ความพรากจากทิฏฐิโยคะ ๑  
ความพรากจากอวิชชาโยคะ ๑ 

 ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความพรากจากกามโยคะเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้  ย่อมรู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งกามทั้งหลาย  ตามความเป็นจริง 
เมื่อเขารู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัด  ออกแห่งกามทั้งหลาย ตามความเป็นจริง 
ความกำหนัดเพราะกาม 
ความเพลิดเพลินเพราะกาม  
ความเยื่อใยเพราะกาม 
ความหมกมุ่นเพราะกาม 
ความกระหายเพราะกาม 
ความเร่าร้อนเพราะกาม  
ความหยั่งลงในกาม 
ความทะยานอยากเพราะกาม 
ในกามทั้งหลาย ย่อมไม่เกิดขึ้น  นี้เราเรียกว่าความพรากจากกามโยคะ ความพรากจากกามโยคะเป็นดังนี้  

ก็ความพรากจากภวโยคะเป็นไฉน 
 ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมรู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ  และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งภพทั้งหลาย ตามความเป็นจริง
เมื่อเขารู้ชัดซึ่ง ความเกิด  ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งภพทั้งหลาย ตามความเป็นจริง  
ความกำหนัดเพราะภพ 
ความเพลิดเพลินเพราะภพ 
ความเยื่อใยเพราะภพ 
ความหมกมุ่นเพราะภพ  
ความกระหายเพราะภพ 
ความเร่าร้อนเพราะภพ 
ความหยั่งลงในภพ และความทะยานอยากเพราะภพ  
ในภพทั้งหลาย ย่อมไม่เกิดขึ้น นี้เราเรียกว่าความพรากจากภวโยคะ ความพรากจากกามโยคะ  ความพรากจากภวโยคะ เป็นดังนี้ 

ก็ความพรากจากทิฏฐิโยคะเป็นไฉน  
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมรู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ  และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งทิฐิทั้งหลาย ตามความเป็นจริง 
เมื่อเขารู้ชัดซึ่ง  ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งทิฐิทั้งหลาย ตามความเป็นจริง  
ความกำหนัดเพราะทิฐิ 
ความเพลิดเพลินเพราะทิฐิ 
ความเยื่อใยเพราะทิฐิ  
ความหมกมุ่นเพราะทิฐิ 
ความกระหายเพราะทิฐิ 
ความเร่าร้อนเพราะทิฐิ  
ความหยั่งลงในทิฐิ 
และความทะยานอยากเพราะทิฐิ 
ในทิฐิทั้งหลาย ย่อมไม่เกิดขึ้น  นี้เราเรียกว่าความพรากจากทิฏฐิโยคะ ความพรากจากกามโยคะ ความพรากจากภวโยคะ  ความพรากจากทิฏฐิโยคะ เป็นดังนี้ 

ก็ความพรากจาก อวิชชาโยคะเป็นไฉน  
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมรู้ชัดซึ่ง ความเกิด ความดับ คุณ โทษ  และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ ประการตามความเป็นจริง  
เมื่อเขารู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖  ประการตามความเป็นจริง ความไม่รู้ ความไม่หยั่งรู้ ในผัสสายตนะ ๖  ประการย่อมไม่เกิดขึ้น 
นี้เราเรียกว่า ความพรากจากอวิชชาโยคะ 

ความพรากจากกามโยคะ  ความพรากจากภวโยคะ ความพรากจากทิฏฐิโยคะ ความพรากจากอวิชชาโยคะ เป็นดังนี้  
บุคคลผู้พรากจาก อกุศลธรรมอันลามก อันเป็นเครื่องเศร้าหมอง เป็นเหตุให้เกิดในภพใหม่  
มีความกระวนกระวาย มีทุกข์เป็นวิบาก มีชาติ ชรา และมรณะต่อไปอีก 
ฉะนั้น เราจึง เรียกว่า ผู้เกษมจากโยคะ  

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความพรากจากโยคะ ๔ ประการนี้แล ฯ  

สัตว์ทั้งหลายผู้ประกอบด้วยกามโยคะ ภวโยคะ ทิฏฐิโยคะ และอวิชชาโยคะ  ย่อมเป็นผู้มีปรกติถึงชาติและมรณะ ไปสู่ วัฏฏสงสาร 

ส่วนสัตว์เหล่าใด  กำหนดรู้กามทั้งหลายและภวโยคะ โดยประการทั้งปวง ถอนขึ้นซึ่งทิฏฐิโยคะ และสำรอก  อวิชชาเสียได้ สัตว์เหล่านั้นแล เป็นผู้พรากจากโยคะทั้งปวง  เป็นมุนีผู้ล่วงพ้นโยคะเสียได้ ฯ  

  • Facebook Clean Grey
  • Twitter Clean Grey

อันโลกุตตระธรรม ที่เบ่งบานเปรียบเหมือน สมองอันสงบแล้ว หัวใจนิ่งเย็น ท่ามกลาง สายฝนแห่งธรรม

 

ทุกอย่างเงียบสงัดลงแล้ว รอบนอกสงบลงแล้ว กายถูกสลัดทิ้ง-แยกออกจากการเหนี่ยวรั้งแล้ว

ดูกรอานนท์ แต่สาวกควรจะใกล้ชิดติดตามศาสดา เพื่อฟังเรื่องราวเห็นปานฉะนี้

 

ซึ่งเป็นเรื่องขัดเกลากิเลสอย่างยิ่ง เป็นที่สบายแก่การพิจารณาทางใจ เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายส่วนเดียว เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับกิเลส เพื่อสงบกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน

 

คือ เรื่องมักน้อย เรื่องยินดีของของตน เรื่องความสงัด เรื่องไม่คลุกคลี เรื่องพูดถึง ความเพียร เรื่องศีล เรื่องสมาธิ เรื่องปัญญา เรื่องวิมุตติ เรื่องวิมุตติญาณทัสสนะ ฯ

 

ดูกรอานนท์ สาวกของศาสดานั้นแล เมื่อเพิ่มพูนวิเวกตามศาสดานั้น ย่อมพอใจเสนาสนะ อันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำบนภูเขา ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง และลอมฟาง เมื่อสาวกนั้นหลีกออกแล้วอย่างนั้นอยู่ พวกพราหมณ์และคฤหบดี ชาวนิคมและชาวชนบท จะพากันเข้าไปหา เมื่อพวกพราหมณ์และคฤหบดี ชาวนิคมและชาวชนบท พากันเข้าไปหาแล้ว สาวกนั้นจะปรารถนาอย่างหมกมุ่น จะถึงความวุ่นวาย จะเวียนมาเพื่อความเป็นผู้มักมาก

 

ดูกรอานนท์ ตถาคตอุบัติในโลกนี้ ได้เป็นผู้ไกลจากกิเลส รู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ดำเนินไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีผู้ฝึกบุรุษที่ควรฝึก อย่างหาคนอื่นยิ่งกว่ามิได้ เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้แจกธรรม ตถาคตนั้นย่อมพอใจเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำบนภูเขา ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง และลอมฟาง เมื่อตถาคตนั้นหลีก ออกแล้วอย่างนั้นอยู่ พวกพราหมณ์และคฤหบดี ชาวนิคมและชาวชนบท จะพา กันเข้าไปหา เมื่อพวกพราหมณ์และคฤหบดี ชาวนิคมและชาวชนบท พากัน เข้าไปหาแล้ว ตถาคตนั้นย่อมไม่ปรารถนาอย่างหมกมุ่น ไม่ถึงความวุ่นวาย ไม่ เวียนมาเพื่อความเป็นผู้มักมาก

bottom of page