top of page

แค่จุดเล็กๆ ในจักรวาล
อุปาทาน ........ การแปรเปลี่ยน
ปฏฺิจสมุปบาท .... ธาตุ

 

มุมมองมี 2 ฟาก

มายา ............................ สัจจา

อุปาทาน ........................ญานทัสสนะ

อาศัยขันธ์5.....................อาศัยขันธ์5

เห็นสภาพการแปรปรวนเปลี่ยนแปลงไม่คงที่ แปรเปลี่ยนไปเรื่อยๆ

 

นิพพาน ไม่อาศัยขันธ์5 ไม่เกี่ยวเนื่่องด้วยขันธ์5 มั่นคง ไม่แปรปรวนเปลี่ยนแปลง เป็นความหมายของ อมตะธรรม

เมื่อมองสภาพจักรวาล เป็นการแปรเปลี่ยนจาก สภาพหนึ่งไปสู่อีกสภาพหนึ่งทุกข์ ปรากฏ จากการมี อุปาทาน อันเนื่องจาก มีสภาพขันธ์5

จึง รับรู้ ความรู้สึกต่างๆ จากการกระทบทั้งภายนอกและภายใน และตีความสภาพวิญญานที่ยินดีและไม่ยินดี สุขสบายและเจ็บปวด เป็นทุกข์ด้วยวนอยู่กับอากัปกริยาทางวิญญานและทางจิตเช่นนี้ ซ้ำแล้วซ้ำเล่า ครั้งแล้วครั้งเล่า
 

อุปาทานและสังขาร ทำให้เกิดสมมุติ หนีออกจากความแปรเปลี่ยนตามธรรมชาติ คือ ไม่มองแค่ว่าเป็นแค่การแปรเปลี่ยนตามปกติ เป็นสิ่งที่ต้องเปลี่ยนไปทุกขณะอยู่แล้ว ... กลับมองไปว่า จะไม่แปรเปลี่ยน จะไม่เปลี่ยนแปลง จะมีอยู่เช่นนั้นตลอดไป ทั้งอดีต ปัจจุบันและอนาคต แม้หลังจากการตาย เช่น ทรัพย์สินเงินทอง บาปบุญ ... จึงเกิดเป็น ม่านมายาขึ้น บังตา-พลางตา จากมุมมองอันเป็นสภาพความจริงของปรากฏการณ์ในจักรวาล

 

ด้วยคิดว่า เราเป็นผู้อันชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ
ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ท่วมทับแล้ว ถูกความทุกข์ท่วมทับแล้ว มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้า

องค์ประกอบ ฮาร์โมนิค 3
 

วิญญานขันธ์
วิญญานที่สืบต่อ สภาพก่อนหน้า หรือ หน่วงสภาพก่อนหน้าไว้ ได้ใกล้เคียงสภาพก่อน ได้นานพอสมควรซึ่งขันธ์5 จนจิตรับรู้สภาพวิญญานนั้น และหาทิศทางใหม่
 

จิตขันธ์
จิตที่แปรเปลี่ยนเกิดดับอย่างรวดเร็วไม่เคยหยุด-แปรเปลี่ยนอยู่ตลอลดเวลา ด้วยขันธ์5
 

มหาสติ
สภาพเกิดดับในทันทีของ วิญญานขันธ์และจิตขันธ์ เกิดสภาพรู้ซึ้งอย่างรวดเร็วและหายไปในทันที เหมือนไม่เคยเกิดขึ้น
 

ไม่มีนิมิต
วิญญาน จะซึมซับ แค่ เวทนาว่า ผ่อนคลายสบายเป็นสุข หรือ อึดอัดเป็นทุกข์
ในขณะที่ สัญญาและสังขารจะทำงาน เพื่อหล่อเลี้ยงเวทนาให้วิญญานซึมซับ
ภายใต้อำนาจของตัณหาที่มีกำลัง จากความไม่รู้ หรือ ไม่มีสติแห่งยถาภูตญาน (แยกแยะสภาพความจริง)

ขณะที่ จิต จะเหมือนเส้นแรงแม่เหล็ก กระจายออกอย่างกระเจิง เพื่อค้นหาเป้าหมายที่สนใจ

การที่วิญญานจะสงบได้และเป็นกลาง(มัชฌิมา) จะต้องให้จิต มีแนวเดียว พุ่งสู่ความสนใจเดียวเสียก่อน

"นางฟ้าต้นมะขามบอกเราไว้ถูกต้องแล้ว ก่อนจะจากกันวันนั้น อย่าหาจิต แต่ให้หาวิญญาน " ... เพราะวิญญานคือกุญแจทั้งหมดที่จะไขขันธ์5ออก
(นางฟ้าตนนั้น ความรู้ทางธรรม ช่างยอดเยี่ยมเหลือเกิน นี่ก็ 3 ปีผ่านมาแล้ว)

 

#วิญญานแห่งเวทนา

[วิญญานแห่งสัญญา .... วิญญานแห่งสังขาร] .... คือ ปัญญา ... จิตเกิดตรงนี้เพื่อพุ่งหานิวรณ์5 ด้วย อวิชชา จึงยังผลแห่งวิบากครอบงำ (Environment รอบๆ วิญญานแห่งเวทนา เอื้อสภาพให้วิบากคงอยู่ทรงอยู่) อันเป็นทุกข์ที่มี 2 ลักษณะ
 

#ทุกข์ ณ ขณะ ... คือ
อุปาทานขันธ์5 ขณะ เกิด
อุปาทานขันธ์5 ขณะ ชราภาพ เสื่อมถอย
อุปาทานขันธ์5 ขณะ เจ็บ ปวด เรื้อรัง ธาตุไฟแตกสลาย
อุปาทานขันธ์5 ขณะ ตาย บุญ บาป จะปรากฏอย่างหมดจด ไม่ถูกบิดเบือน
 

#ทุกข์จากวิบาก
จากการ กิน
จากการ ประมาท ในความคิด ความประพฤติ

ทางออก 
#ยถาภูตญาน ไปสู่ดอกบัวบาน อีกด้าน 
เปิดสู่ ความปราศจากวิบาก เพราะสิ้นยึดติด อัตตา
เปิดสู่ ท้องฟ้าใหม่ กาล-อวกาศ มุมมองใหม่ที่มีแต่สภาพความเป็นจริง ตามความเป็นไปของธรรมชาติ
#มีนิพพานธาตุ เป็นสภาพที่แท้จริง ทรงอยู่ สำนึกได้ ระลึกได้ เป็นมหาสติ

สัมมาสมาธิ

เราอยู่ภายใต้ สภาพแวดล้อมต่างๆ นานา
เช่นความกดดันจากสังคมภายนอก สมมุติภายนอกที่คอยกดทับเรา 

วิตกวิจารณ์ และ ปิติ 
จะปรับสภาพร่างกายและจิตใจ ภายใต้สภาพแวดล้อมนั้นๆ เพื่อเข้าสู่ความสงบ

สุข และ เอกอัคคตา
เมื่อสภาพร่างกายสงบลงได้แล้ว
ต่อมาจะขจัดสิ่งรบกวน ความสนใจที่มาจากหลายๆด้าน ให้เหลือเพียงด้านเดียว

การทิ้ง ด้วยการนอนหลับ เพราะเหนื่อล้า อ่อนกำลัง จากการตรากตรำทางโลก

 

การทิ้ง ด้วยฌานสมาธิ เพราะนิพพิทาญาน หน่ายและตรากตรำใน วงจรเกิดแก่เจ็บตายและวิบาก ที่ไร้ประโยชนฺ์และสาระ

 

การเข้าสมาธิด้วย อาณาปานสติ ใช้หลักการเดียวกันกับ การนอนหลับ

เมื่อเรามีครบแล้ว เรามีพร้อมแล้ว เรามีบริบูรณ์

มี นิพพานธาตุ เป็นอริยะทรัพย์

มี สันโดษ เป็นอริยะทรัพย์

มี เอื้อเฟื้อให้ เป็นอริยะทรัพย์

 

จะพึงหวังลาภสักการะใดๆอีก ไม่อยู่ในฐานะที่เป็นได้

 

เพียงอยู่สบาย สติและสัมปชัญญะ คล้องจอง ไปกับธรรมชาติ

เป็นฐานะอันควร

การดำเนิน การสอนการบอกเล่า ที่ลัดขั้นตอนมากๆ ไปที่จุดหมายปลายทางเลยนั้น

ทำให้ขาดสาระ และ รายละเอียดที่สำคัญไป และยากที่จะเข้าสู่นิพพานธาตุ ที่จะละอัตตาในจิต และ ในวิญญานได้ โดยสมบูรณ์

 

การเป็นไปตามขั้นตอนที่พระพุทธเจ้าบอกนั้น ถูกต้องแล้ว เหมาะสมแล้ว ดังนี้

 

ได้สดับฟัง อริยะสัจ4 ก่อน

ละนิวรณ์5 อภิฌา โสมนัส โทมนัสในกาลก่อน

เข้าสู่ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน

ใช้ จตุตถฌาน เป็นที่ตั้ง เข้าสู่ อากาสาฯ วิญญานฯ อากิญฯ เนวสัญญานาสัญญาฯ

ก้าวข้ามสู่ สัญญาเวทยิทนิโรธ โดยตามธรรมชาติเอง

 

โดยอาศัย นิพพิทายาน วิเวก วิราระ วิมุติ

จึงปรากฏ ญานทัสสนะ สู่(วิโมกข์8โดยอัตโนมัติ) สู่พรหมจรรย์ สู่เจโตวิมุติอันไม่กำเริบ เข้าถึงอยู่เป็นปกติ

ที่สุด สติมั่นคงด้วย สัมมาทิฏฐิ เส้นทางจึงสว่างไสว 

นี้คือ ปัญญาบรรเจิด

นี้คือ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เพราะความสว่างไสว

สัมมาทิฏฐิ

ได้กระทำ ภาระกิจ ถูกทาง

ได้ละ ทรัพย์ทางโลก สมมุติทางโลก สู่เส้นทางที่ถูกทาง

ได้เสียสละ อย่างเต็มเปี่ยม ถูกทาง

จิตสังขาร เป็น sequence ของสัญญา สืบต่อ โดยเวทนา (ที่เป็นกำลังให้ ตัณหา มีอำนาจ ก่อให่เกิดกำหนัด อันเป็น sequence ของเวทนา)

 

การขับเคลื่อน ของ 2 สิ่งนี้ สร้างและทวีคุณ (รีโซแนนซ์) กำลัง ให้กับ ตัณหา เพิ่มแรงขับของความกำหนัด ให้มากขึ้นๆ ...

ซึ่งทั้งหมดคือกระบวนการสืบต่อให้ไม่หยุดและยั้งได้

 

โดยเป็นผลร้ายอย่างยิ่ง เพราะขบวนการดังกล่าว จะไปอัดและเร่ง ปฏิกริยาภายในอวัยวะต่างๆ ระบบต่างๆ สารเคมี สนามไฟฟ้า สนามแม่เหล็ก สนามโน้มถ่วง ในร่างกาย และจิตใจ เกินความเป็นปกติ (ที่ไม่ต้องมีอะไร)

  • Facebook Clean Grey
  • Twitter Clean Grey

อันโลกุตตระธรรม ที่เบ่งบานเปรียบเหมือน สมองอันสงบแล้ว หัวใจนิ่งเย็น ท่ามกลาง สายฝนแห่งธรรม

 

ทุกอย่างเงียบสงัดลงแล้ว รอบนอกสงบลงแล้ว กายถูกสลัดทิ้ง-แยกออกจากการเหนี่ยวรั้งแล้ว

ดูกรอานนท์ แต่สาวกควรจะใกล้ชิดติดตามศาสดา เพื่อฟังเรื่องราวเห็นปานฉะนี้

 

ซึ่งเป็นเรื่องขัดเกลากิเลสอย่างยิ่ง เป็นที่สบายแก่การพิจารณาทางใจ เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายส่วนเดียว เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับกิเลส เพื่อสงบกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน

 

คือ เรื่องมักน้อย เรื่องยินดีของของตน เรื่องความสงัด เรื่องไม่คลุกคลี เรื่องพูดถึง ความเพียร เรื่องศีล เรื่องสมาธิ เรื่องปัญญา เรื่องวิมุตติ เรื่องวิมุตติญาณทัสสนะ ฯ

 

ดูกรอานนท์ สาวกของศาสดานั้นแล เมื่อเพิ่มพูนวิเวกตามศาสดานั้น ย่อมพอใจเสนาสนะ อันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำบนภูเขา ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง และลอมฟาง เมื่อสาวกนั้นหลีกออกแล้วอย่างนั้นอยู่ พวกพราหมณ์และคฤหบดี ชาวนิคมและชาวชนบท จะพากันเข้าไปหา เมื่อพวกพราหมณ์และคฤหบดี ชาวนิคมและชาวชนบท พากันเข้าไปหาแล้ว สาวกนั้นจะปรารถนาอย่างหมกมุ่น จะถึงความวุ่นวาย จะเวียนมาเพื่อความเป็นผู้มักมาก

 

ดูกรอานนท์ ตถาคตอุบัติในโลกนี้ ได้เป็นผู้ไกลจากกิเลส รู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ดำเนินไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีผู้ฝึกบุรุษที่ควรฝึก อย่างหาคนอื่นยิ่งกว่ามิได้ เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้แจกธรรม ตถาคตนั้นย่อมพอใจเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำบนภูเขา ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง และลอมฟาง เมื่อตถาคตนั้นหลีก ออกแล้วอย่างนั้นอยู่ พวกพราหมณ์และคฤหบดี ชาวนิคมและชาวชนบท จะพา กันเข้าไปหา เมื่อพวกพราหมณ์และคฤหบดี ชาวนิคมและชาวชนบท พากัน เข้าไปหาแล้ว ตถาคตนั้นย่อมไม่ปรารถนาอย่างหมกมุ่น ไม่ถึงความวุ่นวาย ไม่ เวียนมาเพื่อความเป็นผู้มักมาก

bottom of page