โลกุตตระ

ธรรมประกอบ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมัตตะ ๑๐ ประการนี้ เป็นไฉน คือ
สัมมาทิฐิ ๑ สัมมาสังกัปปะ ๑ สัมมาวาจา ๑ สัมมา กัมมันตะ ๑ สัมมาอาชีวะ ๑ สัมมาวายามะ ๑ สัมมาสติ ๑ สัมมาสมาธิ ๑
สัมมาญาณะ ๑ สัมมาวิมุติ ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมัตตะ ๑๐ ประการนี้แล ฯ
“เพราะไม่รู้ อริยะสัจ4 อันซึ่ง อุปาทานขัน5 นั้นคือทุกข์ จึงไม่ปล่อยวาง อุปาทานจึงมีอยู่
อวิชชา ก็คือ อุปาทาน นั่นเอง.”

แนวทาง

การเต็มรอบ หรือ การเกิดปัญญานอันขีดสุด จากการเห็นถ่องแท้ใน การเกิด การแก่ การเจ็บ การตาย เห็นการวนอยู่ในทุกข์ เห็นการเกิดดับของทุกข์ครั้งแล้วครั้งเล่า
สภาวะโลกุตตระตอนได้ครั้งแรกมันจะตราตรึงอยู่ในตัวเรานานเหมือนกัน แต่นานไปมันก็หาย แล้วก็จะทำให้เกิดขึ้นใหม่ได้เรื่อยๆ ท่านจึงให้เรานึกถึงสัญญาเก่าที่เป็นโลกุตตระ เช่น อนิจสัญญา อนัตสัญญา ฯลฯ
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัญญา 10 ประการนี้ อันบุคคลเจริญแล้วทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตธรรม มีอมตธรรมเป็นที่สุด 10 ประการเป็นไฉน คืออสุภสัญญา 1 มรณสัญญา 1 อาหาเรปฏิกูลสัญญา 1 สัพพโลเกอนภิรตสัญญา 1 อนิจจสัญญา 1 อนิจเจทุกขสัญญา 1 ทุกเขอนัตตสัญญา 1 ปหานสัญญา 1 วิราคสัญญา 1 นิโรธสัญญา 1 ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย สัญญา 10 ประการนี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มีมากแล้ว ย่อมมี ผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด”
เพราะเมื่อเกิดโลกุตตระที่จิตแล้วในปัจจุบัน หลังจากนั้นขันธ์๕เราก็จะรับรู้ แล้วมันก็จะกลายเป็นอดีต เป็นสัญญาไป มันจึงมีเวลาที่ความรู้สึกนั้นจะเลือนหายไปได้ เราจึงต้องเจริญสัญญาเหล่านี้เสมอ เพื่อให้มันเห็นไตรลักษณ์เด่นชัดอยู่ในความรู้สึกเสมอ จริงๆจิตเราก็รู้แล้วแต่เราทำเพื่อให้มันเกิดปัจจุบัน เพราะขันธ์๕มันไม่เที่ยง มันเสื่อมได้
สัตว์โลกทุกตัวมีนิพพานอยู่ในตัวเอง นิพพานคือพุทธะ พุทธะก็คือพระเจ้า ทุกคนมีสภาวะเดียวกันหมด แต่ตอนที่ยังไม่นิพพานสัตว์ถูกอวิชชาห่อหุ้มไว้จึงไม่เห็นสภาวะนิพพาน ทุกคนมีสภาวะนิพพานอยู่ทุกคน
จิต นี่ลึกซึ้ง เป็นกระบวนการทำงานของการคิด และการสืบต่อความคิดไปเรื่อยๆ ต้องเข้าไปให้เห็น กระบวนการนี้ ถึงจะรู้ว่า จิต นั้นไม่มี
2 กระบวนการ ที่ไม่ต้องใช้การคิด คือ ลมหายใจ กับ การเต้นของหัวใจ
กายสังขาร คือ กระบวนการผัสสะ ของ เซลกระทบต่อเซล หรือ อวัยวะกระทบต่ออวัยวะภายใน หรือ สารพิษเคมีกระทบต่อ
จตุตถฌาน จะเข้าไปหยุดกระบวนการนี้ ตามด้วย อริยสัจ4 จะเข้าไปเห็นต้นกำเนิดของผัสสะทั้งปวง คือ อุปาทาน นั่นเอง
หลักการ คือ อุปาทาน ใช้ สติบริสุทธิ์ เข้าไปเห็น วิธีการ คือ เข้าให้ถึง จตุตถฌานสำหรับผู้ที่มุ่งตรงนิพพาน พระพุทธเจ้า ให้ทำแค่นี้เอง นิพพาน แปลว่า ปลายทางแห่งทุกข์ สุดทางแห่งทุกข์ความหมายไม่ได้เลิศเลอ อะไร เลย แต่ผล ของมันนั้น คือ ขาดออกจากทุกข์ทั้งปวง เลย
การตั้งอยู่ในอรหัตตผล
ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เราย่อมกล่าวการตั้งอยู่ในอรหัตตผล ด้วยการไปครั้งแรก เท่านั้นหามิได้ แต่การตั้งอยู่ในอรหัตตผลนั้น ย่อมมีได้ ด้วยการศึกษาโดยลำดับ ด้วยการทำ โดยลำดับ ด้วยความปฏิบัติโดยลำดับ
ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ก็การตั้งอยู่ ในอรหัตตผล ย่อมมีได้ ด้วยการศึกษาโดยลำดับ ด้วยการทำโดยลำดับ ด้วยความปฏิบัติโดยลำดับอย่างไร?
ดูกร ภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรในธรรมวินัยนี้ เกิดศรัทธาแล้วย่อมเข้าไปใกล้ เมื่อเข้าไปใกล้ย่อมนั่งใกล้ เมื่อนั่งใกล้ย่อมเงี่ยโสตลง เมื่อเงี่ยโสตลงแล้วย่อมฟังธรรม ครั้นฟังธรรมย่อมทรงธรรมไว้ ย่อมพิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงไว้แล้ว เมื่อพิจารณาเนื้อความอยู่ ธรรมทั้งหลายย่อมทน ได้ซึ่งความพินิจ เมื่อธรรมทนความพินิจได้อยู่ ฉันทะย่อมเกิด เมื่อเกิดฉันทะแล้ว ย่อมอุตสาหะ ครั้นอุตสาหะแล้ว ย่อมไตร่ตรอง ครั้นไตร่ตรองแล้ว ย่อมตั้งความเพียร เมื่อมีตนส่งไปแล้ว ย่อมทำให้แจ้งชัดซึ่งบรมสัจจะด้วยกาย และย่อมแทงตลอดเห็นแจ้งบรมสัจจะนั้นด้วยปัญญา
สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ อันภิกษุเหล่านั้นเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน และ เพื่อสติสัมปชัญญะ