top of page

ทิฏฐิที่เป็นนิยยานิกธรรม 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทิฏฐิอันไกลจากกิเลสเป็นข้าศึก เป็นนิยยานิกธรรม นำ ออกซึ่งบุคคลผู้ทำตามนั้น เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ เป็นไฉน? 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใน ธรรมวินัยนี้ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนต้นก็ดี ไปสู่เรือนว่างเปล่าก็ดี ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เรา มีจิตอันปริยุฏฐานกิเลสใดกลุ้มรุมแล้ว ไม่พึงรู้เห็นตามความเป็นจริง ปริยุฏฐานกิเลสในภายในนั้นที่เรายังละไม่ได้ มีอยู่หรือหนอ? 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุมีจิตอันกามราคะกลุ้มรุม ก็ชื่อว่ามีจิตอันปริยุฏฐานกิเลสกลุ้มรุมแล้วเทียว มีจิตอันพยาบาทกลุ้มรุม ก็ชื่อว่ามีจิตอัน ปริยุฏฐานกิเลสกลุ้มรุมแล้วเทียว มีจิตอันถีนมิทธะกลุ้มรุม ก็ชื่อว่ามีจิตอันปริยุฏฐาน กิเลสกลุ้มรุมแล้วเทียว มีจิตอันอุททัจจกุกกุจจะกลุ้มรุม ก็ชื่อว่ามีจิตอันปริยุฏฐานกิเลสกลุ้มรุม แล้วเทียวมีจิตอันวิจิกิจฉากลุ้มรุม ก็ชื่อว่ามีจิตอันปริยุฏฐานกิเลสกลุ้มรุมแล้วเทียว เป็นผู้ขวนขวายในการคิดเรื่องโลกนี้ ก็ชื่อว่ามีจิตอันปริยุฏฐานกิเลสกลุ้มรุมแล้วเทียว เป็นผู้ขวน ขวายในการคิดเรื่องโลกหน้า ก็ชื่อว่ามีจิตอันปริยุฏฐานกิเลสกลุ้มรุมแล้วเทียว และเกิด ขัดใจ ทะเลาะ วิวาท ทิ่มแทงกันและกันด้วยหอกคือปากอยู่ ก็ชื่อว่ามีจิตอันปริยุฏฐานกิเลส กลุ้มรุมแล้วเทียว ภิกษุนั้น ย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า เรามีจิตอันปริยุฏฐานกิเลสใดกลุ้มรุมแล้ว ไม่ พึงรู้เห็นตามความเป็นจริง ปริยุฏฐานกิเลสในภายในนั้นที่เรายังละไม่ได้แล้ว มิได้มีเลย จิตเรา ตั้งไว้ดีแล้ว เพื่อตรัสรู้สัจจะทั้งหลาย นี้ญาณที่ ๑ เป็นอริยะ เป็นโลกุตระไม่ทั่วไปกับพวก ปุถุชน อันภิกษุนั้นบรรลุแล้ว 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งทิฏฐินี้ ย่อมได้ความระงับเฉพาะตน ย่อมได้ความดับกิเลสเฉพาะตนหรือหนอ? อริยสาวกนั้นย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า เราเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งทิฏฐินี้ ย่อมได้ความระงับเฉพาะตน ย่อมได้ความดับกิเลสเฉพาะตน นี้ญาณที่ ๒ เป็นอริยะ เป็นโลกุตระ ไม่ทั่วไปกับพวกปุถุชน อันอริยสาวกนั้นบรรลุแล้ว 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราประกอบ ด้วยทิฏฐิเช่นใด สมณะหรือพราหมณ์อื่นนอกธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยทิฏฐิเช่นนั้น มีอยู่หรือ หนอ? อริยสาวกนั้นย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า เราประกอบด้วยทิฏฐิเช่นใด สมณะหรือพราหมณ์อื่น นอกธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยทิฏฐิเช่นนั้น มิได้มี นี้ญาณที่ ๓ เป็นอริยะ เป็นโลกุตระ ไม่ ทั่วไปกับพวกปุถุชน อันอริยสาวกนั้นบรรลุแล้ว 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า บุคคลผู้ถึง พร้อมด้วยทิฏฐิ ประกอบด้วยธรรมดาเช่นใด ถึงเราก็ประกอบด้วยธรรมดาเช่นนั้น 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ประกอบด้วยธรรมดาอย่างไร 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดา นี้ของบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ คือ ความออกจากอาบัติเช่นใด ย่อมปรากฏ อริยสาวกย่อม ต้องอาบัติเช่นนั้นบ้างโดยแท้ ถึงอย่างนั้น อริยสาวกนั้นรีบแสดง เปิดเผย ทำให้ตื้น ซึ่งอาบัตินั้น ในสำนักพระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารีที่เป็นวิญญูชนทั้งหลาย ครั้นแสดงเปิดเผย ทำให้ ตื้นแล้ว ก็ถึงความสำรวมต่อไป เปรียบเหมือนกุมารที่อ่อนนอนหงาย ถูกถ่านไฟ ด้วยมือหรือ ด้วยเท้าเข้าแล้ว ก็ชักหนีเร็วพลัน ฉะนั้น อริยสาวกนั้น ย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า บุคคลผู้ถึงพร้อม ด้วยทิฏฐิ ประกอบด้วยธรรมดา เช่นใด ถึงเราก็ประกอบด้วยธรรมดาเช่นนั้น นี้ญาณที่ ๔ เป็นอริยะ เป็นโลกุตระ ไม่ทั่วไปกับพวกปุถุชน อันอริยสาวกนั้นบรรลุแล้ว 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า บุคคลผู้ถึง พร้อมด้วยทิฏฐิ ประกอบด้วยธรรมดาเช่นใด ถึงเราก็ประกอบด้วยธรรมดาเช่นนั้น 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ประกอบด้วยธรรมดาอย่างไร 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดา นี้ของบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ คือ อริยสาวกถึงความขวนขวายในกิจใหญ่น้อยที่ควรทำอย่างไร ของเพื่อนสพรหมจารีโดยแท้ ถึงอย่างนั้น ความเพ่งสนใจเล็งกล้าในอธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และ อธิปัญญาสิกขา ของอริยสาวกนั้นก็มีอยู่ เปรียบเหมือนแม่โคลูกอ่อน ย่อมเล็มหญ้ากินด้วย ชำเลืองดูลูกด้วยฉะนั้น อริยสาวกนั้น ย่อมรู้ชัดอยู่อย่างนี้ว่า บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ประกอบ ด้วยธรรมดาเช่นใด ถึงเราก็ประกอบด้วยธรรมดาเช่นนั้น นี้ญาณที่ ๕ เป็นอริยะ เป็นโลกุตระ ไม่ทั่วไปกับพวกปุถุชน อันอริยสาวกนั้นบรรลุแล้ว 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า บุคคลผู้ถึง พร้อมด้วยทิฏฐิ ประกอบด้วยพละเช่นใด ถึงเราก็ประกอบด้วยพละเช่นนั้น 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ประกอบด้วยพละอย่างไร 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย พละนี้ของบุคคลผู้ถึง พร้อมด้วยทิฏฐิ คือ อริยสาวกนั้น เมื่อธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว อันบัณฑิตแสดงอยู่ ทำให้มีประโยชน์ทำไว้ในใจ กำหนดด้วยจิตทั้งปวง เงี่ยโสตฟังธรรม อริยสาวกนั้นรู้ชัดอย่างนี้ ว่าบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ประกอบด้วยพละเช่นใด ถึงเราก็ประกอบด้วยพละเช่นนั้น นี้ญาณ ที่ ๖ เป็นอริยะ เป็นโลกุตระ ไม่ทั่วไปกับพวกปุถุชน อันอริยสาวกนั้นบรรลุแล้ว 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็น ดังนี้ว่า บุคคล ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ประกอบด้วยพละเช่นใด ถึงเราก็ประกอบด้วยพละเช่นนั้น 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ประกอบด้วยพละอย่างไร 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย พละนี้ของ บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ คือ อริยสาวกนั้น เมื่อธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว อันบัณฑิต แสดงอยู่ ย่อมได้ความรู้อรรถ ย่อมได้ความรู้ธรรม ย่อมได้ปราโมทย์อันประกอบด้วยธรรม อริยสาวกนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ ประกอบด้วยพละเช่นใด ถึงเราก็ประกอบ ด้วยพละเช่นใด ถึงเราก็ประกอบด้วยพละเช่นนั้น นี้ญาณที่ ๗ เป็นอริยะ เป็นโลกุตระ ไม่ ทั่วไปกับพวกปุถุชน อันอริยสาวกนั้นบรรลุแล้ว 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดาอันอริยสาวกผู้ประกอบด้วยองค์ ๗ ประการอย่างนี้ ตรวจดูดีแล้ว ด้วยการทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ประกอบด้วย องค์ ๗ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้เพรียบพร้อมด้วยโสดาปัตติผล ฉะนี้แล 


พุทธะ ได้กล่าวพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้น ชื่นชมยินดี คำสอน ของพุทธะ ฉะนี้แล 


  
 

  • Facebook Clean Grey
  • Twitter Clean Grey

อันโลกุตตระธรรม ที่เบ่งบานเปรียบเหมือน สมองอันสงบแล้ว หัวใจนิ่งเย็น ท่ามกลาง สายฝนแห่งธรรม

 

ทุกอย่างเงียบสงัดลงแล้ว รอบนอกสงบลงแล้ว กายถูกสลัดทิ้ง-แยกออกจากการเหนี่ยวรั้งแล้ว

ดูกรอานนท์ แต่สาวกควรจะใกล้ชิดติดตามศาสดา เพื่อฟังเรื่องราวเห็นปานฉะนี้

 

ซึ่งเป็นเรื่องขัดเกลากิเลสอย่างยิ่ง เป็นที่สบายแก่การพิจารณาทางใจ เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายส่วนเดียว เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับกิเลส เพื่อสงบกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน

 

คือ เรื่องมักน้อย เรื่องยินดีของของตน เรื่องความสงัด เรื่องไม่คลุกคลี เรื่องพูดถึง ความเพียร เรื่องศีล เรื่องสมาธิ เรื่องปัญญา เรื่องวิมุตติ เรื่องวิมุตติญาณทัสสนะ ฯ

 

ดูกรอานนท์ สาวกของศาสดานั้นแล เมื่อเพิ่มพูนวิเวกตามศาสดานั้น ย่อมพอใจเสนาสนะ อันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำบนภูเขา ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง และลอมฟาง เมื่อสาวกนั้นหลีกออกแล้วอย่างนั้นอยู่ พวกพราหมณ์และคฤหบดี ชาวนิคมและชาวชนบท จะพากันเข้าไปหา เมื่อพวกพราหมณ์และคฤหบดี ชาวนิคมและชาวชนบท พากันเข้าไปหาแล้ว สาวกนั้นจะปรารถนาอย่างหมกมุ่น จะถึงความวุ่นวาย จะเวียนมาเพื่อความเป็นผู้มักมาก

 

ดูกรอานนท์ ตถาคตอุบัติในโลกนี้ ได้เป็นผู้ไกลจากกิเลส รู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ดำเนินไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีผู้ฝึกบุรุษที่ควรฝึก อย่างหาคนอื่นยิ่งกว่ามิได้ เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้แจกธรรม ตถาคตนั้นย่อมพอใจเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำบนภูเขา ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง และลอมฟาง เมื่อตถาคตนั้นหลีก ออกแล้วอย่างนั้นอยู่ พวกพราหมณ์และคฤหบดี ชาวนิคมและชาวชนบท จะพา กันเข้าไปหา เมื่อพวกพราหมณ์และคฤหบดี ชาวนิคมและชาวชนบท พากัน เข้าไปหาแล้ว ตถาคตนั้นย่อมไม่ปรารถนาอย่างหมกมุ่น ไม่ถึงความวุ่นวาย ไม่ เวียนมาเพื่อความเป็นผู้มักมาก

bottom of page