
หลักดำเนินธรรม
การดำเนินธรรม จะต้องมีแรงบันดาลใจที่แรงกล้าจึงจะถึงปลายทางได้ - โดยมากมักจะมาจาก การพอแล้วกับทุกสิ่ง พอกันที
และ ต้องอาศัยธรรมของพระพุทธเจ้า มากำกับก่อน เพราะ ธรรมของพระพุทธเจ้านั้นบริสุทธิ์แล้ว จะนำพามาสู่จิตเราด้วย
6 ลำดับธรรม เป็นหลักแนวทางที่พระพุทธเจ้าพร่ำสอน ตลอด 45 ปี หลังจากตรัสรู้
เห็นทุกข์ ................................... อุปาทานนั้นคือทุกข์ อุปาทานคือการคิด คิดยึดสิ่งเศร้าหมอง ยึดความพัวพัน
เห็นมิจฉาทิฏฐิ ................................... ทิฏฐิุ62 ยึดความมีความไม่มี ความเที่ยงความไม่เที่ยง ยึดการบรรลุวิเศษ
จตุุตถฌาน ................................... สติบริสุทธิ์ สมองหยุดทำงานเหลือแต่ส่วนการหายใจและหัวใจเต้น
ไตรลักษณ์ ทำให้แจ้ง 1,2 แจ้ง ... สิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์สิ่งนั้นย่อมแปรปรวนไปเป็นปกติธรรมดา
ชำระล้างจิต .................................... ล้างนิวรณ์5 ด้วยการหยุดคิด ด้วยจิตอารมภ์เดียว
สุดปลายทาง ............................ ความไม่มีอะไรนั้นได้สุดแค่นี้ - ไม่สนองต่อผัสสะใดๆอีก
เพราะความเบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัด เพราะดับ เพราะไม่ถือมั่น
จึงหลุดพ้นดีแล้ว เป็นอันเสร็จกิจแล้ว ย่อมไม่มีวัฏฏะเพื่อความปรากฏอีก.
สัญญา 10 พึงระลึก เพื่อความเป็นโลกกุตตระธรรม
1 ขันธ์5 อนิจจัง..
2 อายะตะนะ เป็นอนัตตา..
3 ในร่างกาย มีแต่ปฏิกูลเป็นของไม่งาม..
4 ร่างกาย เต็มไปด้วยโรคภัย เจ็บป่วย..
5 ไม่ยินดี ละ บรรเทา หมดสิ้นไป ถึงความไม่มี ในอกุศลธรรมทั้งปวง..
6 ธรรมชาตินั้น ปราศจาก กิเลส และ กองทุกข์ทั้งปวง ..
7 ธรรมชาตินั้น เป็นที่ดับ กิเลส และ กองทุกข์ทั้งปวง ..
8 หยุดความถือมั่น สลายอุปาทานทั้งปวง..
9 หยุดความคิด ..
10 อานาปานะสติ ..

ผู้ใดเห็นทุกข์ ผู้น้้นเห็นธรรม
ผู้ใดเห็นธรรม
ผู้นั้นเห็นปฏิจสมุปบาท
นี้จะเป็นแรงบันดาลใจและกำลังใจ แก่สัตว์ผู้จะเดินจนถึงสุดปลายทาง
เมื่อเสียงภายในยุติลง จึงจะได้ยินความสงบ
เมื่อการสั่นสะเทือนภายในยุติลง จึงได้สัมผัสความสงบ
เมื่อภาพภายในคมชัด จิตจึงตั้งมั่นมีอารมภ์เดียว
วิเวก - วิราคะ - นิโรธ - วิมุตติ
(สันโดษ - คลายออก - ปล่อยวาง - ดับมอด)
:เพื่อซึมซับความสงบ
ธรรมชาตินั่นสงบ ธรรมชาตินั่นปราณีต
มรรคที่เธอได้แล้วนั้นแล อันเธอ เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
จักน้อมนำเธอผู้อยู่โดยอาการนั้นๆ ไป เพื่อความเป็นอย่างนั้น
โดยที่เธอจักรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อ ความเป็นอย่างนี้มิได้มี
สติบริสุทธิ์ เหนืออุปาทานทั้งปวง
มองข้ามเหนือมุมมองทั้งปวง
เป็นอิสระจากายนี้ ไม่ขึ้นอยู่กับกายนี้
สาวกของเราในธรรมวินัยนี้ ย่อมเห็นเบญจขันธ์นั้นด้วยปัญญา อันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันใดอันหนึ่ง ทั้งที่ ล่วงไปแล้ว ทั้งที่ยังไม่มาถึง ทั้งเกิดขึ้นเฉพาะในบัดนี้ ที่เป็นภายในก็ดี ที่เป็นภายนอกก็ดี หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี เลวก็ดี ประณีตก็ดี ในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี ทั้งหมด ก็เป็นแต่รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่ได้เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตนของเรา ดังนี้
สิ่งทั้งหลายที่เกิดมาในโลกมีความเสื่อมสลายเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงทำหน้าที่อันเป็น ประโยชน์แก่ตนและคนอื่นให้สำเร็จบริบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด