
เห็นทุกข์ ................................... อุปาทานนั้นคือทุกข์ อุปาทานคือการคิด คิดยึดสิ่งเศร้าหมอง ยึดความพัวพัน
... เห็นพิษสงของผลพวงอุปาทาน
เห็นมิจฉาทิฏฐิ ................................... ทิฏฐิุ62 ยึดความมีความไม่มี ความเที่ยงความไม่เที่ยง ยึดการบรรลุวิเศษ
... เห็นมานะความหัวแข็งดื้อรั้นภายในตน
จตุุตถฌาน ................................... สติบริสุทธิ์ สมองหยุดทำงานเหลือแต่ส่วนการหายใจและหัวใจเต้น
... ให้ถึง สติบริสทธิ์
( สมอง และ หัวใจ สัมปยุต สงบ ... ความรู้สึกภายนอกภายในโดยตัดออกข้ามความสนใจไป)
ไตรลักษณ์ ทำให้แจ้ง 1,2 แจ้ง ... สิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์สิ่งนั้นย่อมแปรปรวนไปเป็นปกติธรรมดา
... สิ่งใด ย่อมไม่เที่ยง ความไม่เที่ยงย่อมแปรปรวนอยู่เสมอ
ชำระล้างจิต .................................... ล้างนิวรณ์5 ด้วยการหยุดคิด
... สลายกลไกการก่อเกิดการพะวง (นิวรณ์5)
... อยู่จบพรหมจรรย์ จนเกิด สัมปยุตต์ จนเกิด สัมมาญาน+สัมมาวิมุตติ
สุดปลายทาง ............................ ความไม่มีอะไรนั้นได้สุดแค่นี้ - ไม่สนองต่อผัสสะใดๆอีก
สัตตัฏฐานสูตร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้เพ่งสนใจพินิจโดยวิธี ๓ ประการเป็นอย่างไร?
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเพ่งสนใจพินิจ
-
โดยความเป็นธาตุ ประการหนึ่ง
-
โดยความเป็นอายตนะ ประการหนึ่ง
-
โดยความเป็นปฏิจจสมุปบาท ประการหนึ่ง
สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ อันภิกษุเหล่านั้นเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน และ เพื่อสติสัมปชัญญะ
สุขปัจจุบัน คือ โล่งกาย โล่งใจ เพราะด้วย สมองและหัวใจคลายตัว เรียกอาการนี้ว่า สัมปยุตต์ จากตำแหน่งก้านสมอง ที่ควบคุมลมหายใจและการเต้นของหัวใจคลายตัว
และหากว่า สมองส่วนที่เหลือ ไม่ทำงาน เหมือน แก้วที่น้ำรินออกแล้ว จะเป็นอาการของสติบริสุทธิ์
