top of page

แรงบันดาลใจ หรือ อิทธิบาท4 มักจะได้มาจากการเจริญสติในทางใดทางหนึ่ง ไม่ว่าจะด้วยโลกุตตระ หรือ อภิญญาให้เกิดญานหนึ่งในกัมมัฏฐาน 7 กลุ่ม


กัมมัฏฐาน 40 คือ

  1. กสิณ 10

  2. อสุภ 10

  3. อนุสสติ 10

  4. อัปมัญญา 4

  5. พรมหวิหาร 4

  6. อาหาเรปฏิกูลสัญญา 1

  7. จตุธาตุววัตถานะ 1

 

เพื่อบรรลุสุดยอดอันสมบูรณ์ยิ่งในโพธิปักษธรรมทั้งปวง คือสติปัฏฐาน 4, สัมมัปปธาน 4, อิทธิบาท 4, อินทรีย์ 5, พละ 5, โพชฌงค์ 7, มรรคมีองค์ 8 ซึ่งเป็นธรรมมุ่งตรงต่อฌานทรรศนะ  เห็นแจ้งธรรมที่กิเลสแทรกซึม(นิวรณ์) และ อวิชชาเครื่องกำบัง แห่งอภิญญา 


สงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกมีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่
ย่อมละราคะด้วยปฐมฌานนั้น ราคานุสัย มิได้ตามนอนอยู่ในปฐมฌานนั้น

 

ย่อมพิจารณาเห็นอยู่ว่า เมื่อไร เราจะได้บรรลุอายตนะที่พระอริยะทั้งหลายบรรลุแล้วอยู่
ในบัดนี้ ดังนี้ เมื่อภิกษุนั้นเข้าไปตั้งความปรารถนาในวิโมกข์ทั้งหลายอันเป็นอนุตตรธรรมอย่างนี้
โทมนัสย่อมเกิดขึ้น เพราะความปรารถนาเป็นปัจจัย

ท่านละปฏิฆะได้ด้วยความโทมนัสนั้น ปฏิฆานุสัยมิได้ตามนอนอยู่ในความโทมนัสนั้น

 

บรรลุจตุตถฌานอันไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัส โทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่

ย่อมละอวิชชาได้ด้วยจตุตถฌานนั้น อวิชชานุสัยมิได้ตามนอนอยู่ในจตุตฌานนั้น.

 

 

เธอจงเจริญเมตตาภาวนาเถิด จักละพยาบาทได้

เธอจงเจริญกรุณาภาวนาเถิด  จักละการเบียดเบียนได้

เธอจงเจริญมุทิตาภาวนาเถิด  จักละไม่พอใจ ความริษยาได้

เธอจงเจริญอุเบกขาภาวนาเถิด  จักละปฏิฆะได้

เธอจ เจริญอสุภภาวนาเถิด  จักละราคะได้

เธอจงเจริญอนิจจสัญญาภาวนาเถิด  จักละอัสมิมานะได้ 
 

บารมีี แปลว่า กำลังใจเต็ม บารมี 10 ทัศ มีดังนี้

 

  1. ทานบารมี  
    จิตพร้อมในการให้ทานเป็นปกติ
    การให้ เป็นการตัดความโลภ
     

  2. ศีลบารมี    
    จิตพร้อมในการทรงศีลเป็นปกติ
    เรามีก็ตัดความโกรธ
     

  3. เนกขัมมะบารมี  
    จิตพร้อมในการถือบวชเป็นปกติ ในที่นี้หมายถึงบวชใจ
    เป็นการตัดอารมณ์ของกามคุณ
     

  4. ปัญญาบารมี      
    จิตพร้อมที่จะใช้ปัญญาเป็นเครื่องประหารอุปาทานให้พังพินาศไป
    ตัดความโง่
     

  5. วิริยะบารมี          
    มีความเพียรในทุกขณะ ควบคุมใจไว้เสมอ
    ตัดความขี้เกียจ
     

  6. ขันติบารมี          
    มีความอดทน อดกลั้นต่อสิ่งอันเป็นปฏิปักษ์
    ตัดความไม่รู้จักอดทน
     

  7. สัจจะบารมี  
    ทรงตัวไว้ว่าเราจะทำจริงทุกอย่างในด้านของการทำความดี ไม่มีคำไม่จริงสำหรับใจเรา
    ตัดความไม่จริงใจ มีอารมณ์ใจกลับกลอก
     

  8. อธิษฐานบารมี  
    ตั้งใจไว้ให้ตรงโดยเฉพาะ
    ทรงกำลังไว้ให้สมบูรณ์

  9. เมตตาบารมี      
    สร้างอารมณ์ความดี ไม่เป็นศัตรูกับใคร มีความรักตนเสมอด้วยบุคคลอื่น
    สร้างความเยือกเย็นของใจ
     

  10. อุเบกขาบารมี  
    การวางเฉยในกาย เมื่อมันไม่ทรงตัว
    วางเฉยเข้าไว้ในเรื่องของกายเรา

  • Facebook Clean Grey
  • Twitter Clean Grey

อันโลกุตตระธรรม ที่เบ่งบานเปรียบเหมือน สมองอันสงบแล้ว หัวใจนิ่งเย็น ท่ามกลาง สายฝนแห่งธรรม

 

ทุกอย่างเงียบสงัดลงแล้ว รอบนอกสงบลงแล้ว กายถูกสลัดทิ้ง-แยกออกจากการเหนี่ยวรั้งแล้ว

ดูกรอานนท์ แต่สาวกควรจะใกล้ชิดติดตามศาสดา เพื่อฟังเรื่องราวเห็นปานฉะนี้

 

ซึ่งเป็นเรื่องขัดเกลากิเลสอย่างยิ่ง เป็นที่สบายแก่การพิจารณาทางใจ เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายส่วนเดียว เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับกิเลส เพื่อสงบกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน

 

คือ เรื่องมักน้อย เรื่องยินดีของของตน เรื่องความสงัด เรื่องไม่คลุกคลี เรื่องพูดถึง ความเพียร เรื่องศีล เรื่องสมาธิ เรื่องปัญญา เรื่องวิมุตติ เรื่องวิมุตติญาณทัสสนะ ฯ

 

ดูกรอานนท์ สาวกของศาสดานั้นแล เมื่อเพิ่มพูนวิเวกตามศาสดานั้น ย่อมพอใจเสนาสนะ อันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำบนภูเขา ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง และลอมฟาง เมื่อสาวกนั้นหลีกออกแล้วอย่างนั้นอยู่ พวกพราหมณ์และคฤหบดี ชาวนิคมและชาวชนบท จะพากันเข้าไปหา เมื่อพวกพราหมณ์และคฤหบดี ชาวนิคมและชาวชนบท พากันเข้าไปหาแล้ว สาวกนั้นจะปรารถนาอย่างหมกมุ่น จะถึงความวุ่นวาย จะเวียนมาเพื่อความเป็นผู้มักมาก

 

ดูกรอานนท์ ตถาคตอุบัติในโลกนี้ ได้เป็นผู้ไกลจากกิเลส รู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ดำเนินไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีผู้ฝึกบุรุษที่ควรฝึก อย่างหาคนอื่นยิ่งกว่ามิได้ เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้แจกธรรม ตถาคตนั้นย่อมพอใจเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำบนภูเขา ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง และลอมฟาง เมื่อตถาคตนั้นหลีก ออกแล้วอย่างนั้นอยู่ พวกพราหมณ์และคฤหบดี ชาวนิคมและชาวชนบท จะพา กันเข้าไปหา เมื่อพวกพราหมณ์และคฤหบดี ชาวนิคมและชาวชนบท พากัน เข้าไปหาแล้ว ตถาคตนั้นย่อมไม่ปรารถนาอย่างหมกมุ่น ไม่ถึงความวุ่นวาย ไม่ เวียนมาเพื่อความเป็นผู้มักมาก

bottom of page